วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2551

CL ยา ตอนที่ 2 Extern กับยา Glivec

และก็ถึงเวลาที่จะตอบคำถามกันว่าทำไม Extern Gen3 ต้องขึ้นไปเซ็นต์ชื่อรับยา Glivec ที่ภาควิชาศัลย์
เกี่ยวเนื่องมาจาก CL ครับ โดยก่อนที่รัฐบาลจะประกาศนโยบาย CL ซึ่งถือเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะใช้เพื่อลดราคายาแพง อย่างไรก็ตาม ก่อนจะลงนามประกาศใช้สิทธิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งให้คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาจำเป็นที่มีสิทธิบัตร ไปดำเนินการเจรจากับบริษัทยาหลายครั้งเพื่อเปิดโอกาสให้ตกลงกันได้ ซึ่งได้ผลระดับหนึ่งแต่ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงตามที่กระทรวงคาดหวัง

คณะกรรมการเจรจาต่อรองราคายาฯ ได้เจรจาต่อรองกับบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ซาโนฟี-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรของยาทั้งสี่รายการ รวมเป็นการเจรจาถึง 12 ครั้ง ในช่วงเกือบ 3 เดือน ผลปรากฏว่า


ยา Erlotinib ลดราคาลงร้อยละ 30


ยา Docetaxel ลดราคาจนอาจเหลือเพียงร้อยละ 20 ของราคาเดิม แต่บริษัทลดราคาให้แบบมีเงื่อนไข โดยให้แบ่งความรับผิดชอบในการรักษากับภาครัฐ ซึ่งมีรายละเอียดมากและเป็นไปได้ยากในการจัดการ


ยา Letrozole ลดราคาลง 1 ใน 3


ยา Imatinib บริษัทยืนยันให้ความช่วยเหลือโดยการให้ยาฟรีเฉพาะผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยภายใต้เงื่อนไขของบริษัท ซึ่งจะมีคนไทยประมาณ 10 ล้านคนที่ไม่เข้าข่ายโครงการดังกล่าว


โดยสรุปจึงถือว่าการเจรจาไม่ได้ผลตามที่คาดหวังไว้ว่าราคายาน่าจะลดลงจนอยู่ในวิสัยที่ไม่เป็นภาระแก่ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากนัก และเป็นราคาสุทธิที่ไม่รวมเงื่อนไขที่ยากต่อการปฏิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ลงนามในประกาศซีแอลทั้งสี่ฉบับ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2551 แต่เพื่อให้โอกาสอีกครั้งแก่ผู้ทรงสิทธิบัตร จึงให้มีการเจรจาครั้งสุดท้าย ปรากฏว่า


ความคืบหน้าที่น่าสนใจและนับเป็นการเจรจาที่ได้ผลคือ กรณีที่บริษัทโนวาร์ตีสฯ ได้เสนอให้ยา Imatinib หรือ Glivec โดยไม่คิดมูลค่าแก่ผู้ป่วยภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยกำหนดเพดานรายได้ครัวเรือนไว้ไม่เกิน 1.7 ล้านบาทต่อปี ภายใต้โครงการที่เรียกว่าโครงการจีแพ็พ (GIPAP : Glivec International Patient Assistance Program)


ตอนนี้คนถึงบางอ้อแล้วนะครับว่าทำไม ผู้ป่วยของ GEN3 ที่ป่วยเป็นโรค GI cancer โดยเฉพาะ GIST จึงได้รับยา Glivec ไปกิน Free Free ต้องบอกว่าเป็นผลทางอ้อมของ CL ล้วนๆครับ


ที่มา http://www.cl4life.net/


CL ยา ทางเลือกระหว่างชีวิตกับเศรษฐกิจประเทศ (ตอนที่ 1)


CL ยา ทางเลือกระหว่างชีวิตกับเศรษฐกิจประเทศ
ประเด็นร้อนในบ้านเมืองขณะนี้นอกจากเรื่องรัฐบาลไข่แม้วและฟอร์มดีวันดีคืนของทีมเทพอย่าง "ลิเวอร์พูล" แล้ว หนีไม่พ้นว่าจะเป็นเรื่อง CLยา CL ยาคืออะไร เกี่ยวข้องกับชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งครับ และในตอนท้าย เพื่อนๆจะได้รู้ที่มาว่าทำไม Extern Gen3 ต้องขึ้นไปเซ็นต์ชื่อรับยา Glivec ที่ภาควิชาศัลย์ ถ้าอยากรู้ต้องติดตามครับ

CL (Compulsory Licensing) หรือมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ในการผลิตหรือนำเข้า ผลิตภัณฑ์ที่ติดสิทธิบัตรได้ หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน หรือเกิดวิกฤติด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ อ่านแล้วอาจจะงงเล็กน้อย แต่ต้องลองฟังที่มากันซักนิดจะเข้าใจ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศได้ให้ความคุ้มครองผู้ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยการออกสิทธิบัตรเพื่อให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ นั้นในการผลิต จำหน่าย หรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นเวลา ๒๐ ปีนับแต่วันยื่นจดสิทธิบัตร เพื่อเอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีเวลาแสวงหาประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยไร้คู่แข่ง ซึ่งก็รวมไปถึง “ผลิตภัณฑ์ยา” ดังนั้นการที่มียาใหม่ในท้องตลาดซึ่งมีผู้จดสิทธิบัตรเพียงเจ้าเดียว จะทำให้ ทำให้ผู้ขายสามารถตั้งราคาไว้เท่าใดก็ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนั้นๆ ก็ไม่มีทางเลือกทำให้ยาใหม่จึงมีราคาแพงมาก ยากที่คนจนจะเข้าถึง
ด้วยเหตุนี้การประชุมสมาชิกองค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮา จึงได้ผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวด้วยการประกาศปฏิญญาโดฮา ภายใต้ข้อตกลงทริปส์ ที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลประเทศสมาชิก ในการผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ติดสิทธิบัตรได้ หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน หรือเกิดวิกฤติด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ โดยจะต้องแจ้งและจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ทรงสิทธิบัตรด้วย จึงกล่าวได้ว่า มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรือการประกาศทำ CL จึงเป็นทางออกของปัญหาการเข้าไม่ถึงยาราคาแพงเพราะติดสิทธิบัตร

ขณะนั้นในประเทศไทยซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ (AntiHIV) ที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ยากลุ่ม second-line Drug คือ

1.Efavirenz (Stocrin)

2. Lopinavir & Ritonavir (Kaletra)

3.Clopidogrel (Plavix)


แต่ยาเหล่านี้มีราคาแพงมาก ซึ่งต่อปีต้องทำให้รัฐสูญเงินหลายหมื่นล้านบาทต่อปี รัฐบาลจึงประกาศใช้ CL กับยา 3 ตัวนี้ โดยจ้างผู้ผลิตยาต่างประเทศเพื่อผลิตยาเป็น Local made ทำให้ราคายาลดลงเป็นอย่างมากอย่าง Efavirenz ที่เคยมีราคาต่อเดือน 1,300 บาท จะเหลือที่ 650 บาทต่อเดือน ยาโคลพิโดเกรลสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจจากราคาเม็ดละ 70 บาทก็จะเหลือเพียงเม็ดละไม่เกิน 10 บาท ผลก็คือทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยามากขึ้น และรัฐก็ประหยัดรายได้



แน่นอนเหรียญยังมีสองหัว CL ก็ย่อมมีด้านไม่ดีครับ ที่ไม่ดีก็คือมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การทำ CL นั้นไม่ต่างกับการไป “ขโมย” หรือ “ยึดทรัพย์” ของคนอื่น โดยบริษัทยาที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรต้องเสียรายได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นบริษัทยาต่างชาติโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามล็อบบี้ทุกวิถีทางผ่าน USTR (United States Trade Representative) ให้ใช้มาตรการทางการค้ากับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อขัดขวางการใช้ Compulsory license กับผลิตภัณฑ์ยา โดยมาตราการที่ออกมาส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในประเทศไทย ทำให้ส่งออกสินค้าได้ลำบากมากขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างภาคธุรกิจ กับวงการสาธารณสุข
เดี๋ยวก่อนที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเรื่องเมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้วครับ
ล่าสุดต้นปีนี้ไทยโดยรัฐมนตรีคนก่อนคือ นพ.มงคล ณ สงขลา ได้ประกาศใช้นโยบาย CLกับยาต้านมะเร็งอีก 4 ตัวคือ


1)อิมาทินิบ (Imatinib) ใช้รักษาLeukemia และ GI cancer เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทซาโนฟี่ อเวนตีส ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส
2)โดซีแท็กเซล (Docetaxel) ใช้รักษา CA Breast และ CA Lung เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทโรช ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
3)เออร์โลทินิบ (Erlotinib) ใช้รักษา CA Lungและ
4 )เล็ทโทรโซล (Letrozole) ใช้รักษา CA Breast เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทโนวาตีส มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งว่าบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรเป็นบริษัทจากค่ายยุโรปทั้งหมด


การทำ CL ยามะเร็งของฝ่ายไทยในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐและสหภาพยุโรปมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ พล.อ.สุรยุทธ์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ผ่านมา เคยประกาศในระหว่างเดินทางไปเยือนสหรัฐว่า ไทยจะไม่ทำ CL อีก และการทำ CL ครั้งนี้ได้ทำกับกับโรคมะเร็งแตกต่างกับหลักการที่ฝ่านมาซึ่งทำกับโรคระบาด หรือโรคอันตรายรุนแรงอย่างเอดส์
ในประเด็นนี้ทำให้กระทรวงพาณิชย์กังวลว่า สหรัฐอาจจะจัดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขั้นรุนแรง (PFC) ในการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามมาตรา 301 พิเศษ กฎหมายการค้าสหรัฐ ที่จะประกาศผลเดือนเมษายนนี้และอาจทำให้ ประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) หรือการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลก็จำเป็นต้องมีมาตรการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ส่งออกด้วย


เอาเป็นว่าถึงตอนนี้คงพอได้ไอเดียนะครับว่าประเทศไทยควรจะทำ CL ยาเพิ่มอีก 4 ตัวหรือไม่อย่างไร ส่วนประเด็นที่รัฐมนตรีไชยาได้ประกาศว่าจะทบทวนนโยบายซีแอลนี้ เนื่องจากบริษัทยาได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ และจะมีการกดดันในการประกาศให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย ผมจะไม่พูดลงรายละเอียดนะครับ แต่ว่าถ้าใครอยาก จะลงชื่อถอดถอนรัฐมนตรีก็เชิญครับ

สำหรับคำถามกันว่าทำไมExtern Gen3 ต้องขึ้นไปเซ็นต์ชื่อรับยา Glivec ที่ภาควิชาศัลย์
โปรดติดตามตอนที่ 2 ครับ

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

เชียร์ทีมบอกนิสัย

ทุกๆคนคงมีทีมโปรดในดวงใจ อย่างผมแน่นอนก็คือทีม ลิเวอร์พูล แต่เคยสังเกตไม้ว่าคนที่เชียร์ทีมเดียวกันนั้น มักจะมีนิสัยคล้ายกันครับ ไม่เชื่อลองดูครับ เริ่มที่


Liverpool หรือที่แฟนบอลมักเรียกตัวเองว่า the kop คนที่เชียร์ลิเวอร์พูลนั้นส่วนใหญ่จะ ขี้คุย แบบว่าคุยไว้ก่อน สกอร์ออกมาอีกเรื่อง ส่วนมากจะมีโอกาสคุยได้ไม่กี่วันครับเพราะส่วนใหญ่มันจะชนะติดต่อกันไม่กี่นัด เมื่อไรชนะพวกนี้จะมันจะเหมือนเงาตามตัว เดินไปที่ไหนจะเจอมัน พร้อมคำเยาะเย้ยถากถาง เมื่อไรแพ้อย่าหวังว่าจะได้เห็นมันตามท้องถนน หรือถ้าเจอกันจะรีบทำเป็นมีธุระ นิสัยอีกข้อของแฟนลิเวอร์พูลคือจะยอมรับความจริงได้ครับ ยอมรับในสัจธรรมว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เพราะทีมไม่คงเส้นคงวาซะเรื้อเกิน แบบว่าชนะอินเตอร์ แต่เสมอทีมนอกลีกแบบเกือบตาย

ประโยคเด็ดเวลาชนะ แชมป์ชัวร์ปีนี้

คำแก้ตัวเวลาแพ้ แม่งโรเตชั่นทำไมวะ ทีมเดิมก็ดีอยู่แล้ว หรือ มันจะเอาเดิกร์เคาท์ลงทำไมวะ หรือ จัดตัวอะไรวะเนี่ย



Red Army ของ Manchester united ชึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นคู่ปรับของ liverpool ครับ(โดนส่วนใหญ่กองเชียร์สองกลทีมมักจะไม่ถุกกันและแช่งให้ฝั่งตรงข้ามแพ้ตลอด ผมเคยลองคิดหาสาเหตว่าทำไมถึงไม่ถูกกันแต่ก็ไม่ได้คำตอบครับ รู้แต่เกิดมามันก็เกลียดกันแล้ว) นิสัยของกองเชียร์ สองทีมนี้จะคล้ายกันก็คือ ขี้คุย แบบว่ากินกันไม่ลงครับ และมักจะมักจะโกรธ อารมย์เสีย เวลาทีมแพ้ เพราะส่วนใหญ่มันก็แพ้ยาก และมักจะโวยวายโทษโน่นโทษนี่โดยเฉพาะแพะรับบาปคือป๋าแพนด้า

ประโยคเด็ดเวลาชนะ โรนันโด้แม่งสุดตีน หรือ รูนี่เตเบสแม่งสุดยอด (ทั้งทีมแม่งเล่น 3 คน)


คำแก้ตัวเวลาแพ้ ป๋าแม่งจัดตัวอะไรวะ สี่จตุรเทพลงอีกแล้วแม่งเซ็ง หรือ บุกทั้งเกมส์แม่งยิงไม่ได้


Arsenal หรือ The Gunner เป็นกองเชียร์ที่น่าเคารพครับ ที่ว่าน่าเคารพเพราะ กองเชียร์ Arsenal มักจะเงียบๆ ไม่ค่อยพูด ไม่แสดงตัว ถึงแม้ว่าทีมตัวเองจะชนะขาดเท่าไร ก็มักไม่ได้ยินคำพูดทับถมออกจากปากแฟนกลุ่มนี้ ผิดกับกองเชียร์ Manu และ Liverpool ที่ชอบการพูดทับถม ข่มกันเป็นชีวิตจิตใจ กองเชียร์ Arsenal ยังถือว่าน่าอิจฉาครับ เพราะทีมเล่นบอลสวยงามน่าดู และมักจะมีเด็กโนเนมของดีราคาถูกมาให้ชมเสมอ ต้องให้credit เวนเกอร์ครับ

ประโยคเด็ดเวลาชนะ นิ่งเสียตำลึงทอง

คำแก้ตัวเวลาแพ้ นานๆจะมีซักครั้งครับ เช่นบุกทั้งเกมส์แต่ยิงไม่ได้ เซ็งหวะ


ทีม Chelsea ต้องบอกว่าต้องบอกว่าคนเชียร์ทีมนี้ค่อนข้างครึ่งๆกลางๆครับ จะพูดมากก็ไม่ได้เพราะแบบมีพนักติดหลัง จะคุยมากไม้ได้เพราะทีมก็ไม่ได้ดีมาก ร่วมกับเวลาคุย เจอตอกกลับมาบอกว่าใช้เงินตั้งเยาะได้แค่นี้เองหรอ อิอิ ค่อนข้างหน้าสงสารครับ เห็นใจ
ประโยคเด็ดเวลาชนะ พูดมากไม่ได้

คำแก้ตัวเวลาแพ้ แก้ตัวอะไรไม่ได้เสือกเงินเยอะนี้หว่า


เอาเป็นว่าสุดท้ายจะเชียร์ทีมอะไรก็เชียร์ไป แต่อย่าข้องเกี่ยวกับการพนันนะ เดี๋ยวจะรวยไม่รู้เรื่อง