CL ยา ทางเลือกระหว่างชีวิตกับเศรษฐกิจประเทศ
ประเด็นร้อนในบ้านเมืองขณะนี้นอกจากเรื่องรัฐบาลไข่แม้วและฟอร์มดีวันดีคืนของทีมเทพอย่าง "ลิเวอร์พูล" แล้ว หนีไม่พ้นว่าจะเป็นเรื่อง CLยา CL ยาคืออะไร เกี่ยวข้องกับชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างไร น่าติดตามเป็นอย่างยิ่งครับ และในตอนท้าย เพื่อนๆจะได้รู้ที่มาว่าทำไม Extern Gen3 ต้องขึ้นไปเซ็นต์ชื่อรับยา Glivec ที่ภาควิชาศัลย์ ถ้าอยากรู้ต้องติดตามครับ
CL (Compulsory Licensing) หรือมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ในการผลิตหรือนำเข้า ผลิตภัณฑ์ที่ติดสิทธิบัตรได้ หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน หรือเกิดวิกฤติด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ อ่านแล้วอาจจะงงเล็กน้อย แต่ต้องลองฟังที่มากันซักนิดจะเข้าใจ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศได้ให้ความคุ้มครองผู้ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยการออกสิทธิบัตรเพื่อให้สิทธิผูกขาดแก่ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ นั้นในการผลิต จำหน่าย หรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นเวลา ๒๐ ปีนับแต่วันยื่นจดสิทธิบัตร เพื่อเอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีเวลาแสวงหาประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยไร้คู่แข่ง ซึ่งก็รวมไปถึง “ผลิตภัณฑ์ยา” ดังนั้นการที่มียาใหม่ในท้องตลาดซึ่งมีผู้จดสิทธิบัตรเพียงเจ้าเดียว จะทำให้ ทำให้ผู้ขายสามารถตั้งราคาไว้เท่าใดก็ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้ที่จำเป็นต้องใช้ยาชนิดนั้นๆ ก็ไม่มีทางเลือกทำให้ยาใหม่จึงมีราคาแพงมาก ยากที่คนจนจะเข้าถึง
ด้วยเหตุนี้การประชุมสมาชิกองค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮา จึงได้ผ่อนปรนเงื่อนไขดังกล่าวด้วยการประกาศปฏิญญาโดฮา ภายใต้ข้อตกลงทริปส์ ที่ให้อำนาจแก่รัฐบาลประเทศสมาชิก ในการผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ติดสิทธิบัตรได้ หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน หรือเกิดวิกฤติด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ โดยจะต้องแจ้งและจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ทรงสิทธิบัตรด้วย จึงกล่าวได้ว่า มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรือการประกาศทำ CL จึงเป็นทางออกของปัญหาการเข้าไม่ถึงยาราคาแพงเพราะติดสิทธิบัตร
ขณะนั้นในประเทศไทยซึ่งกำลังมีปัญหาเรื่องการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ (AntiHIV) ที่จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ยากลุ่ม second-line Drug คือ
1.Efavirenz (Stocrin)
2. Lopinavir & Ritonavir (Kaletra)
3.Clopidogrel (Plavix)
แต่ยาเหล่านี้มีราคาแพงมาก ซึ่งต่อปีต้องทำให้รัฐสูญเงินหลายหมื่นล้านบาทต่อปี รัฐบาลจึงประกาศใช้ CL กับยา 3 ตัวนี้ โดยจ้างผู้ผลิตยาต่างประเทศเพื่อผลิตยาเป็น Local made ทำให้ราคายาลดลงเป็นอย่างมากอย่าง Efavirenz ที่เคยมีราคาต่อเดือน 1,300 บาท จะเหลือที่ 650 บาทต่อเดือน ยาโคลพิโดเกรลสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจจากราคาเม็ดละ 70 บาทก็จะเหลือเพียงเม็ดละไม่เกิน 10 บาท ผลก็คือทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยามากขึ้น และรัฐก็ประหยัดรายได้
แน่นอนเหรียญยังมีสองหัว CL ก็ย่อมมีด้านไม่ดีครับ ที่ไม่ดีก็คือมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันว่า การทำ CL นั้นไม่ต่างกับการไป “ขโมย” หรือ “ยึดทรัพย์” ของคนอื่น โดยบริษัทยาที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรต้องเสียรายได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นบริษัทยาต่างชาติโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามล็อบบี้ทุกวิถีทางผ่าน USTR (United States Trade Representative) ให้ใช้มาตรการทางการค้ากับประเทศกำลังพัฒนา เพื่อขัดขวางการใช้ Compulsory license กับผลิตภัณฑ์ยา โดยมาตราการที่ออกมาส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกในประเทศไทย ทำให้ส่งออกสินค้าได้ลำบากมากขึ้น ทำให้เกิดความขัดแย้งกันเองระหว่างภาคธุรกิจ กับวงการสาธารณสุข
เดี๋ยวก่อนที่เล่ามาทั้งหมดเป็นเรื่องเมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้วครับ
ล่าสุดต้นปีนี้ไทยโดยรัฐมนตรีคนก่อนคือ นพ.มงคล ณ สงขลา ได้ประกาศใช้นโยบาย CLกับยาต้านมะเร็งอีก 4 ตัวคือ
1)อิมาทินิบ (Imatinib) ใช้รักษาLeukemia และ GI cancer เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทซาโนฟี่ อเวนตีส ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส
2)โดซีแท็กเซล (Docetaxel) ใช้รักษา CA Breast และ CA Lung เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทโรช ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์
3)เออร์โลทินิบ (Erlotinib) ใช้รักษา CA Lungและ
4 )เล็ทโทรโซล (Letrozole) ใช้รักษา CA Breast เจ้าของสิทธิบัตรคือ บริษัทโนวาตีส มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งว่าบริษัทเจ้าของสิทธิบัตรเป็นบริษัทจากค่ายยุโรปทั้งหมด
การทำ CL ยามะเร็งของฝ่ายไทยในครั้งนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐและสหภาพยุโรปมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ พล.อ.สุรยุทธ์ อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ผ่านมา เคยประกาศในระหว่างเดินทางไปเยือนสหรัฐว่า ไทยจะไม่ทำ CL อีก และการทำ CL ครั้งนี้ได้ทำกับกับโรคมะเร็งแตกต่างกับหลักการที่ฝ่านมาซึ่งทำกับโรคระบาด หรือโรคอันตรายรุนแรงอย่างเอดส์
ในประเด็นนี้ทำให้กระทรวงพาณิชย์กังวลว่า สหรัฐอาจจะจัดอันดับให้ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาขั้นรุนแรง (PFC) ในการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามมาตรา 301 พิเศษ กฎหมายการค้าสหรัฐ ที่จะประกาศผลเดือนเมษายนนี้และอาจทำให้ ประเทศไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) หรือการขึ้นภาษีนำเข้า ซึ่งจะกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลก็จำเป็นต้องมีมาตรการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ส่งออกด้วย
เอาเป็นว่าถึงตอนนี้คงพอได้ไอเดียนะครับว่าประเทศไทยควรจะทำ CL ยาเพิ่มอีก 4 ตัวหรือไม่อย่างไร ส่วนประเด็นที่รัฐมนตรีไชยาได้ประกาศว่าจะทบทวนนโยบายซีแอลนี้ เนื่องจากบริษัทยาได้ทำหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์ และจะมีการกดดันในการประกาศให้ไทยเป็นประเทศที่ต้องถูกจับตามองเป็นพิเศษ เรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เกรงว่าจะได้ไม่คุ้มเสีย ผมจะไม่พูดลงรายละเอียดนะครับ แต่ว่าถ้าใครอยาก จะลงชื่อถอดถอนรัฐมนตรีก็เชิญครับ
สำหรับคำถามกันว่าทำไมExtern Gen3 ต้องขึ้นไปเซ็นต์ชื่อรับยา Glivec ที่ภาควิชาศัลย์
โปรดติดตามตอนที่ 2 ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น